ค้นหาบล็อกนี้

วันศุกร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2557

คนไทยดำน้ำเป็น....แก้ปัญหาหลายต่อ ตอนที่ 1 ปัญหาเศรษฐกิจ

Diving marketing


ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อที่ประเทศไทยมีจุดดำน้ำติดอันดับโลกเสมอมา แต่คนที่ได้รับผลประโยชน์เต็มที่จากธุรกิจดำน้ำ กลับเป็น ชาวต่างชาติ

ส่วนแบ่งการตลาดอุตสาหกรรมดำน้ำประเทศไทยนั่นเป็นของชาวต่างชาติไปแล้วมากกว่า 95% 

สาเหตุหนึ่งเป็นเพราะ คนไทยดำน้ำไม่เป็น จึงไม่ได้สนใจประกอบอาชีพในธุรกิจดำน้ำ (มีข้อมูลหนึ่งบอกว่าคนไทยดำน้ำเป็นประมาณ 20,000 คน !!!)คนไทยท้องถิ่นที่ดำน้ำไม่เป็นแต่ประกอบอาชีพในธุรกิจดำน้ำ จึงประกอบอาชีพอย่างเช่น คนขับเรือแม่บ้าน เป็นต้น  ทั้งๆที่อาชีพนักดำน้ำมืออาชีพได้เงินดีกว่าตั้งเยอะ  ไม่ว่าจะเป็น Divemaster 
หรือ ครูสอนดำน้ำก็ตาม 

สาเหตุที่สอง อาจเป็นเพราะประเทศไทยไม่มีกฎเกณฑ์ใดๆกับธุรกิจดำน้ำโดยเฉพาะ  ไม่เหมือนประเทศมาเลเซีย อินโด ฟิลิปปินส์ ที่ออกกฎหมายปกป้องอาชีพ Divemaster ให้เป็นอาชีพสำหรับคนในประเทศเท่านั้น

ผลที่ตามมาก็คือ เมื่อไม่มีคนไทยดำน้ำเป็นเพื่อเข้าไปประกอบอาชีพในธุรกิจดำน้ำ  เจ้าของธุรกิจ
ชาวต่างชาติ จึงจ้างนักดำน้ำมืออาชีพชาวต่างชาติมาทำงานแทน  ชาวต่างชาติหลายคนที่ทำงาน
ก็ไม่ได้มีใบอนุญาตทำงานอย่างถูกกฎหมาย  แล้วอย่างนี้รัฐจะเก็บภาษีรายได้จากคนทำงาน
ได้อย่างไร   

ดังนั้นการที่คนไทยดำน้ำเป็นเพื่อประกอบอาชีพมากขึ้น จะสามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจได้ 3 เรื่อง
อย่างเห็นได้ชัดคือ 

- แก้ปัญหาการจ้างงานอย่างผิดกฎหมาย ไม่ต้องมี
ชาวต่างชาติที่แอบทำงานอย่างไม่มีใบอนุญาต 
เพราะเจ้าของธุรกิจสามารถจ้างคนไทยมาทำงานได้ และทำใบอนุญาตให้เฉพาะชาวต่างชาติบางคนที่
ต้องการทักษะเฉพาะจริงๆ เช่น ทักษะด้านภาษา

- แก้ปัญหาการแย้งงานคนท้องถิ่น เพราะทะเลอยู่
ในประเทศไทยอยู่แล้ว หากคนรุ่นใหม่ที่มีบ้านติด
กับทะเล ไม่อยากมาหางานทำในกรุงเทพ เขาก็สามารถสร้างรายรับจากอาชีพนักดำน้ำที่มีรายได้
ดีกว่า หรือจะเปิดธุรกิจดำน้ำเองก็ยังได้

- แก้ปัญหาการจัดเก็บภาษีรายได้  เมื่อคนไทยและ
ชาวต่างชาติทำงานอย่างถูกกฎหมาย ประเทศก็จะ
สามารถจัดเก็บภาษีรายได้เข้าระบบเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน

.........................................

ติดตามตอนต่อไป

สามปัญหาถูกแก้ไข...เมื่อคนไทยดำน้ำเป็น

Post 28 Aug

เชื่อหรือไม่ว่า แค่เราดำน้ำเป็นก็สามารถแก้ไขปัญหาในประเทศไทยได้ถึง 3 เรื่อง คือ เศรษฐกิจ  สิ่งแวดล้อม  และสุขภาพอธิบายเพิ่มเติมดังนี้

1. เศรษฐกิจ  ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อที่ประเทศไทยมีจุดดำน้ำติดอันดับของโลกเสมอมา แต่คนที่ได้รับผลประโยชน์เต็มที่จากธุรกิจดำน้ำ กลับเป็น ชาวต่างชาติ
Diving marketing

ส่วนแบ่งการตลาดอุตสาหกรรมดำน้ำประเทศไทยนั่นเป็นของชาวต่างชาติไปแล้วมากกว่า 95% สาเหตุหนึ่งเป็นเพราะ คนไทยดำน้ำไม่เป็น จึงไม่ได้สนใจประกอบอาชีพในธุรกิจดำน้ำ (มีข้อมูลหนึ่งบอกว่าคนไทยดำน้ำเป็นประมาณ 20,000 คน !!!) คนไทยท้องถิ่นที่ประกอบอาชีพในธุรกิจดำน้ำแต่ดำน้ำไม่เป็น จึงทำอาชีพอย่างเช่น คนขับเรือ แม่บ้าน เป็นต้น  ทั้งๆที่อาชีพนักดำน้ำมืออาชีพได้เงินดีกว่าตั้งเยอะ  ไม่ว่าจะเป็น Divemaster หรือ ครูสอนดำน้ำก็ตาม 

สาเหตุที่สอง อาจะเป็นเพราะประเทศไทยไม่ได้มีกฏเกณฑ์ใดๆกับธุรกิจดำน้ำโดยเฉพาะ  ไม่เหมือนประเทศมาเลเซีย อินโดฟิลิปปินส์ ที่ออกกฏหมายปกป้องอาชีพ Dive master ให้เป็นอาชีพสำหรับคนในประเทศเท่านั้น
 
ผลที่ตามมาก็คือ เมื่อไม่มีคนไทยดำน้ำเป็นเพื่อเข้าไปประกอบอาชีพในธุรกิจดำน้ำ  เจ้าของธุรกิจชาวต่างชาติ จึงจ้างนักดำน้ำมืออาชีพชาวต่างชาติมาทำงานแทน  ชาวต่างชาติหลายคนที่ทำงานก็ไม่ได้มีใบอนุญาตทำงานอย่างถูกกฏหมาย  แล้วอย่างนี้รัฐจะเก็บภาษีรายได้จากคนทำงาน ได้อย่างไร  

ดังนั้นการที่คนไทยดำน้ำเป็นเพื่อประกอบอาชีพมากขึ้น จะสามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจได้ 3 เรื่องอย่างเห็นได้ชัดคือ 
 
- แก้ปัญหาการจ้างงานอย่างผิดกฏหมาย ไม่ต้องมีชาวต่างชาติที่แอบทำงานอย่างไม่มีใบอนุญาต เพราะเจ้าของธุรกิจสามารถจ้างคนไทยมาทำงานได้ และทำใบอนุญาตให้เฉพาะชาวต่างชาติบางคนที่ต้องการทักษะจริงๆ เช่น ทักษะด้านภาษา
- แก้ปัญหาการแย้งงานคนท้องถิ่น เพราะทะเลอยู่ในประเทศไทยอยู่แล้ว และหากคนรุ่นใหม่ที่มีบ้านติดกับทะเล ไม่อยากมาหางานทำในกรุงเทพ เขาก็สามารถสร้างรายรับจากอาชีพนักดำน้ำได้เช่นกัน
- แก้ปัญหาการจัดเก็บภาษีรายได้  เมื่อคนไทยและชาวต่างชาติทำงานอย่างถูกกฏหมาย ประเทศก็จะสามารถจัดเก็บภาษีรายได้เข้าระบบเพิ่มขึ้นอีกเช่นกัน

2. สิ่งแวดล้อม
ทะเลเปรียบเหมือนออฟฟิศของนักดำน้ำ ถ้าทะเลเน่าจะมีใครที่ไหนอยากลงไปดำน้ำ และแน่นอนว่าธุรกิจร้านอาหาร โรงแรม สปา ที่อยู่ใกล้แถวนั้นย่อมได้รับผลกระทบตามไปด้วย
under water

เราได้ยินมากับหู น้องๆที่ไปดำน้ำด้วยกันบอกว่า ชาวต่างชาติ Dive Leader เขาเหยียบปะการัง !!!! ได้ยินแล้วเจ็บช้ำหัวใจกระซิกๆ รู้ไหมว่าสิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเลบอมบางขนาดไหนกว่าจะโตมาได้ถึงขนาดนี้ !!! แต่ชาวต่างชาติคนนั้นกลับเหยียบปะการังได้ลงอย่างไม่มีสำนึกของการเป็นนักอนุรักษ์  (แต่ชาวต่างชาติที่เขาระมัดระวังก็มีเช่นกันนะ ปกติของคนนั่นแหละมีทั้งดีและไม่ดี) 

ดังนั้นจึงคิดขึ้นมาว่า มันจะดีกว่าไหมถ้าเราสามารถเป็นคนกำหนดสิ่งแวดล้อมของเราได้เอง  สามารถออกมามีปากมีเสียงที่จะดูแลปกป้องอนุรักษ์ทะเลไทยของเราเอง 
ปลา
ชาวต่างชาติที่มาหาเงินในประเทศไทยแล้วก็กลับประเทศของตัวเองไปอาจไม่สามารถให้คุณค่าอะไรกลับมายังทะเลบ้านเราได้มากนัก เพราะเขาไม่ได้อยู่ยาว อยู่แค่หาเงินช่วง High season

แต่ถ้าคนไทยเข้ามาทำอาชีพนักดำน้ำ เราอยู่ที่ประเทศไทยบ้านเราตลอดชีวิต พอเราทำงานหาเงินได้จากทะเล เราก็สามารถที่จะรวมกลุ่มกันออกไปเก็บขยะใต้ทะเล ปลูกปะการัง อะไรทำนองนี้ได้ ถ้าใครได้ลงไปดำน้ำจะรู้ว่าธรรมชาติใต้ท้องทะเลมันบอมบาง และ แข็งแกรงอย่างน่าอัศจรรย์มาก สิ่งมีชีิวิตใต้ทะเลไม่ได้ต้องการให้เราช่วยเหลือเขามากนัก เพียงแค่อย่าทำลายกันก็พอ 

สิ่งแวดล้อมจะอยู่ได้อย่างยั่งยืนถ้าคนที่สร้างรายได้จากธรรมชาติ เป็นคนที่ดูแลธรรมชาตินั้นด้วยตัวเอง


3. สุขภาพ
ระบบในร่างกายที่สำคัญที่สุดเพื่อการดำน้ำ คือ ระบบหายใจ และ ระบบหู  ดังนั้นคนที่มีปัญหาในระบบนี้จะต้องให้แพทย์เป็นคนยืนยันว่าเราสามารถดำน้ำได้หรือไม่ เพราะอาการของแต่ละคนหนักเบาไม่เท่ากัน  

จะเห็นได้ว่าร่างกายเป็นส่วนหลักสำคัญของกิจกรรมดำน้ำ  ดังนั้นถ้าเราไม่ใส่ใจดูแลร่างกายให้แข็งแรง  วันหนึ่งเราอาจหมดโอกาสที่จะดำน้ำก็ได้  

กิจกรรมดำน้ำไม่เกี่ยวข้องกับตัวเลขของอายุ  น้ำหนักตัว ขอเพียงแค่เราสุขภาพยังแข็งแรงอยู่ จะอายุเท่าไร น้ำหนักตัวเท่าใด สายตาสั้นแค่ไหน ก็กระโดดลงดำน้ำได้อย่างแน่นอน ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ 2 คน

คนแรก เป็นน้องที่จะมาฝึกงานคนหนึ่งรูปร่างอ้วน  แต่เพื่อให้ตัวเองได้ดำน้ำอย่างสะดวกสบายก็ไปลดน้ำหนักซะหุ่นดีเชียว (ย้ำอีกครั้งว่า น้ำหนักตัวไม่มีผลต่อการดำน้ำนะ จะอ้วนหรือผอมก็ดำน้ำได้ แต่น้องคนนี้เขามีแรงบันดาลใจอยากลดน้ำหนักเพื่อดำน้ำ) 

คนที่สอง คุณลุงอลัน จากประเทศสวิสเซอร์แลนด์ อายุ 60 กว่าปี เป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ แต่คุณลุงก็ยังฟิต  ออกกำลังกายสม่ำเสมอให้ร่างกายแข็งแรงตลอดเวลา พร้อมกลับมาประเทศไทยเพื่อดำน้ำได้ทุกปี
ตัวอย่างที่ยกมานั้นเพื่อจะบอกว่า กิจกรรมดำน้ำ เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงของการเป็นคนสุขภาพดีก็ยังได้ ไปจนถึงเป็นแรงบันดาลใจให้คนอยากสุขภาพดีก็ยังมี

เพราะถ้าเราสุขภาพดีแล้ว ของขวัญที่ล้ำค่าคือการได้กระโดดลงใต้ท้องทะเล เพื่อแหวกว่ายได้อย่างอิสระ ไร้เสียงรถ เสียงผู้คน มีแค่เพียงเสียงลมหายใจของเรา ที่ทำให้เราได้มองเห็นตัวเองที่เชื่อมโยงกับธรรมชาติได้อย่างแจ่มชัดที่สุด....

.....พอมองไปถึงอาชีพ เมื่อดำน้ำดูแลลูกค้านักท่องเที่ยวเสร็จ กลับขึ้นฝั่งพร้อมรายได้.....ก็เท่านั้นเอง

ดำน้ำเมืองไทยกันไหม....ในบ้านของเราเอง

https://www.facebook.com/BangkokSeaEvents
http://www.scubadivingkohchang.com/


PICT0047 2

วันอังคารที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ฝึกงานกับครู Sacha ตอน มาก่อนเวลา



Trainee late again !!! I appointment with them 8 o’clock but now 9 o'clock already, so for sure I will angry them very much…………

นี่เป็นประโยคโดยรวมที่ผู้เขียนมักจะได้ยินจากครู Sacha  เมื่อเขานัดหมายนักศึกษาฝึกงานให้มาทำอะไรสักอย่าง   แต่นักศึกษากลับยังมาไม่ถึงตามเวลาที่นัดหมาย !!!!

คนไทย (ส่วนใหญ่) กับการมาสาย  เป็นอะไรที่แยกออกจากกันได้ยากจริงๆ 

ณ มหาวิทยาลัย  หลายครั้งที่ครูยังไม่เริ่มการสอนเพราะนักศึกษายังมาไม่ครบ  หรือ ต้องเปลี่ยนเวลาเริ่มเรียนเพราะนักศึกษาส่วนใหญ่ตื่นสาย

ณ ที่ทำงาน  หลายครั้งที่เรานัดหมายเพื่อออกทำงานนอกสถานที่เวลา  6 โมงเช้า  แต่ยังไม่สามารถออกเดินทางได้  เพราะต้องรอคนสุดท้ายที่จะมาถึงจุดนัดหมายเวลา 7 โมง 

นั่นหมายความว่าในความสัมพันธ์ของกลุ่มเพื่อนไทย....คนมาสายไม่เคยต้องรับผิดชอบอะไรเลย....แต่คนที่รับผิดชอบกลับเป็นคนที่มาตรงเวลา นั่นคือ  "ต้องนั่งรอ" จนถึงวินาทีสุดท้ายของคนท้ายสุดที่จะมาถึง

แต่การฝึกงานกับ ครู Sacha  คนมาสายจะ "ต้องรับผิดชอบเสมอ" .....

ครู Sacha จะตำหนิทุกครั้งที่คนๆนั้นมาสายและผู้มาสายไม่แจ้งสาเหตุล่วงหน้า  เพื่อให้นักศึกษาฝึกงานรู้ตัวว่าการมาสายไม่ใช่เรื่องที่ขอโทษเสร็จแล้วก็จบ  แต่ทุกครั้งของการมาสายของคนหนึ่งคน  จะส่งผลกระทบต่อคนอื่นๆเสมอ

ทุกครั้งของการจัดบรรยาย หรือ นัดประชุม ที่มหาวิทยาลัย  ครู Sacha จะคำนวณเพื่อไปถึงก่อนเวลานัดหมาย 1 - 2 ชั่วโมงเสมอ  เพราะเขาเผื่อเวลาถ้ารถติด  เผื่อเวลาเข้าห้องน้ำ  เผื่อเวลาจิบกาแฟ  เผื่อเวลาหากหิว  เผื่อเวลานั่งผ่อนคลาย  ข้อหลังสุดเป็นประเด็นสำคัญสำหรับครู Sacha เขาไม่ชอบมากหากจะต้องกระหืดกระหอบและเข้าจัดบรรยาย หรือ ประชุม โดยไม่มีเวลาผ่อนคลายก่อนเริ่ม และการมาสายมันแสดงถึงความไม่เป็นมืออาชีพ......อย่างรุนแรง

ครู Sacha เล่าให้ฟังว่า  ครั้งหนึ่งตอนที่ยังอยู่สวิสเซอร์แลนด์คนๆหนึ่งนัดหมายเรื่องงานกับเขา  แต่เนื่องจากว่ารถติดจึงทำให้ครู Sacha มาสาย  ในเวลาที่เดินทางไปถึง  เจ้าของงานไล่เขากลับทันทีโดยไม่จำเป็นต้องถามสาเหตุ  ถ้าหากจะเอาเรื่องรถติดมาเป็นข้ออ้างทำไมคุณไม่เผื่อเวลาเดินทาง  ครู Sacha จึงเสียงานในวันนั้นทันที !!!

นี่เป็นธรรมเนียมปฏิบัติของชาวยุโรปที่....คนมาสายจะต้องรับผิดชอบเสมอ.....อย่างไม่มีข้อแม้.....

คราวนี้ฝั่งเอเชียเราบ้าง  “ประเทศญี่ปุ่น”  ผู้เขียนอ่านเจอบทความของคนไทยที่ได้ไปร่วมงานจัดอบรม  ในงานนั้นมีคนหลายชาติมารวมตัวกัน  เธอเห็นกลุ่มชาวญี่ปุ่นจะมาถึงก่อนเวลาเริ่มอบรมเสมอ  หญิงไทยเข้าไปพูดคุยจึงรู้เหตุผลว่า  สิ่งที่ทำให้ชาวญี่ปุ่นกลุ่มนี้มาถึงก่อนเวลาเสมอนั้นไม่ใช่เพื่อตัวเอง  แต่เพื่อแสดงการให้เกียรติต่อผู้อื่นที่มาร่วมงานเดียวกัน 

จากเรื่องราวทั้งหมดจะเห็นว่า "คนที่มาตรงเวลาได้"  จะต้องเป็นคนที่ "มาก่อนเวลานัดหมาย" เสมอ  เหตุผลของแต่ละคนก็เพื่อ

.........ให้ตัวเองได้ผ่อนคลายก่อนเริ่มงาน

...........................เพื่อความเป็นมืออาชีพในการทำงาน

.....................................................เพื่อแสดงการให้เกียรติกับผู้อื่น

เรากลับมาถามตัวเองบ้างดีกว่า

แล้ว "เหตุผลของการมาก่อนเวลา" ของเราหล่ะ


................คืออะไร ????..........

...................................................................


โครงการอุตสาหกรรมดำน้ำ  คนไทยทำได้  
https://www.facebook.com/seaeventsBangkok

โรงเรียนสอนดำน้ำ Dolphin Divers เกาะช้าง จ.ตราด

วันพุธที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2557

ชวนนักศึกษา ไป ศึกษา


 “ถ้าเรียนจบสาขาการท่องเที่ยว พวกเราอยากทำงานอะไรกัน ????
.....................................

นี่เป็นคำถามที่ผู้เขียนมักจะถามนักศึกษาสาขาการท่องเที่ยวบ่อยครั้งเมื่อจัดบรรยายโครงการอุตสาหกรรมดำน้ำ  คนไทยทำได้ 

ตลอดระยะเวลา 2 ปี ที่ผ่านมา  คำตอบของนักศึกษาคือ    “...................................”

ถูกต้องนะคร้าบบบบบบบบบ มันคือ  “เสียงเงียบ”

เมื่อคำถามนี้เดินทางออกจากปากผู้บรรยายกระทบหูผู้ฟัง  ทุกคนถึงกลับเงียบกริบกันทั้งห้อง  ไม่ว่าห้องเรียนนั้นจะมีจำนวนคน หลักสิบหรือ หลักร้อย ก็ตาม 

มีหลายครั้งที่ผู้เขียนได้คุยกับอาจารย์มหาวิทยาลัยต่างๆ ที่สอนสาขาการท่องเที่ยว เกี่ยวกับบุคลิกของเด็กที่เลือกเรียนสาขานี้  คำตอบที่ได้ฟังสรุปเป็น 2 ประเด็น  คือ  

เด็กส่วนใหญ่ไม่ได้อยากทำงานด้านนี้จริงๆ  และ พวกเขาคิดว่าสาขานี้เรียนสบาย 

ซึ่งก็เป็น 2 ประเด็นที่สอดคล้องกันทีเดียว  แต่สิ่งที่ไม่น่าเชื่อคือไม่ว่าจะเป็นมหาวิทยาลัยที่ต้องสอบ  และ  ไม่ต้องสอบเอนทรานซ์  ก็จะเป็นเด็กส่วนใหญ่ที่มีบุคลิกดังกล่าว  ( แต่หากใครเลือกเรียนได้ตรงกับความต้องการของตัวเองแล้วก็เรียนรู้ให้มันสุดๆ เลย !!! )

แน่นอนว่าทุกคนมี “อิสระในการที่จะเลือก”  ไม่ว่า "เหตุผลของการเลือกนั่นคืออะไร”  เพราะฉะนั้นมาเพิ่มประสบการณ์ให้ชีวิตกันหน่อยดีกว่า !!!

ข้อความข้างต้น  ฟังดูเป็นประโยคที่ไม่ค่อยเข้ากันเท่าไร  แต่มันมีความสอดคล้องกันนะจ๊ะจะบอกให้  ความสอดคล้องของมันคือ ถ้าเรามี “ประสบการณ์ไม่กว้างพอ”  อิสระในการเลือกของเราก็จะเท่ากับสระว่ายน้ำ 10 เมตร  ทั้งที่มันเป็นไปได้ว่าเราอาจจะชอบสิ่งที่อยู่นอกสระมากกว่า  แต่เราดันไม่เคยออกไปเกินขอบสระว่ายน้ำ 10 เมตรนี้  แต่ถ้าเรามี ”ประสบการณ์ที่กว้างขึ้น”  อิสระของเราก็จะเท่ากับ “แม่น้ำโขงทั้งสาย” เลือกอะไรให้ชีวิตก็สนุกสนาน  เพราะเรามีประสบการณ์ที่เพียงพอจะรู้แล้วว่าอะไรคือสิ่งที่เราชอบหรือไม่ชอบ !!! 

มัคคุเทศก์ , แอร์โอสเตส , เชฟ , front office , เจ้าของบริษัททัวร์ ฯลฯ อาชีพส่วนใหญ่ของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว หากเรียนสาขานี้ทุกคนย่อมได้ลองปฏิบัติกันเกือบครบแล้ว แต่ยังมีอีกหนึ่งอาชีพที่แน่นอนว่าหลายคนยังไม่เคยได้ลอง  นั่นคือ  “นักดำน้ำมืออาชีพ Dive master หรือ มัคคุเทศก์ทางน้ำ” อาชีพในธุรกิจดำน้ำ

อาชีพนี้มันทำงานยังไง ?  ได้เงินเท่าไร ??  เรียนจบไปจะได้งานทำเลยไหม ???  ฯลฯ ??????????????????  เป็นคำถามที่ยังไม่จำเป็นต้องหาคำตอบตอนนี้  เพราะสิ่งที่เราต้องรู้ก่อนอันดับแรก  คือ  เราชอบมันหรือเปล่า ?  และจะรู้ได้อย่างไรว่าชอบหรือไม่ชอบ....ก็ลองไปดำน้ำก่อนซิ  

เมื่อวานนี้ผู้เขียนได้ดูสารคดีท่องโลกกว้าง ช่อง Thai pbs เป็นเรื่องราวของประเทศเกาะจาไมก้า  สารคดีตอนนี้ได้เล่าถึงชายสามคนที่ใช้ชีวิตเชื่อมโยงกับธรรมชาติ และชายคนหนึ่งชื่อ นัคเล่ห์  ชาวเลบานอน เขาใช้ความหลงใหลในทะเลเป็นพื้นฐานของอาชีพ  เขาทำงานร่วมกับองค์กรสงเคราะห์เพื่อพัฒนาชีวิตชาวท้องถิ่นให้มีการทำประมงอย่างยั่งยืน  ฉะนั้นเขาจึงมีรายได้จากอาชีพ  ได้ดำน้ำทุกวัน  และได้อยู่ใกล้ทะเลที่เขาหลงใหล  

แต่ก่อนที่จะมาอยู่ที่นี่ตอนเป็นเด็กพ่อชอบพาเขามาทะเล  และเดินทางไปที่ต่างๆ เยอะมาก  โตขึ้นเขาต้องหนีสงครามไปใช้ชีวิตอยู่ยุโรป  และต่อมาย้ายไปอยู่แคนาดา  สุดท้ายความหลงใหลในทะเลก็ดึงให้เขามาอยู่ใกล้มันอีกครั้งเหมือนเมื่อเขายังเด็ก   

จะเห็นได้ว่านัคเล่ห์ ไม่ได้ตัดสินใจมาอยู่ที่นี่ตั้งแต่แรกแต่ประสบการณ์ที่กว้างขึ้นทำให้เขารู้แล้วว่าการเลือกกลับมาอยู่กับสิ่งที่เขาหลงใหลมันคือความสุขของชีวิตมากที่สุด

อีกคนหนึ่งคนใกล้ตัว  ครู Sacha  หากใครได้รู้ประวัติ  จะทราบว่าครู Sacha ต้องการหาประเทศที่เขาอยู่แล้วมีความสุข  เขาตัดสินใจทิ้งเครื่องมือสร้างรายได้อย่างอาชีพครูจากประเทศสวิสเซอร์แลนด์ เปลี่ยนมาใช้เครื่องมือสร้างรายได้ตัวใหม่ คือ “อาชีพนักดำน้ำ” เดินทางไปรอบโลกกว่า 10 ประเทศ  และในที่สุดเขาก็ค้นพบประเทศที่เขาอยู่แล้วมีความสุข และตัดสินใจจะอยู่ที่นี่ตลอดชีวิตนั่นคือ  ประเทศไทย  และอีกเช่นกันครู Sacha เลือกที่จะเดินทางให้มากพอก่อนตกลงปลงใจว่าจะเลือกอะไรให้ชีวิต 

กลับมามองที่ตัวเราเองบ้างดีกว่า  ก่อนเรียนจบปริญญาตรีเราได้สร้างประสบการณ์ให้ชีวิตได้กว้างแค่ไหนแล้ว....ถ้ามันยังดูเล็กไป...เพิ่มมันสักหน่อยก่อนเรียนจบจะดีไหม  ?

“นักศึกษา”  เป็นบทบาทที่ผู้เขียนชอบมาก  เพราะเขาบอกอยู่แล้วว่าเราอยู่สถานะเพื่อ “ศึกษา”  มีอะไรที่เกี่ยวข้องกับสาขาที่เราเรียน  ผู้ใหญ่เขาก็คัดเลือกมาให้ศึกษาจนหมด    

มาเป็น "นักศึกษาที่มีประสิทธิภาพ" กัน  ศึกษามันให้ครบเลยว่าอาชีพในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีอะไรให้ทำบ้าง  แล้วก็ลองทำให้หมดก่อนเรียนจบ  เพื่อขยายขอบเขตของประสบการณ์ให้กว้างที่สุด ก่อนที่จะไปเลือกทางเดินให้ชีวิตว่า

“เรียนจบไป  เราอยากทำงานอะไร ????



วันพุธที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2557

กลอน “ดำน้ำ” (ดำน้ำจริงๆ)

                      
                                               ในวาระดิถีขึ้นปีใหม่                                              ขอเล่าไปบ่นไปให้ฟังหนา
                                               บรรยากาศดำน้ำที่เห็นมา                                    ช่างตรึกตราตรึกตรองต้องบอกไป

                                               เห็นผองเพื่อนร่วมโลกล้วนมาเที่ยว                     อยู่แป๊บเดียวเดี๋ยวก็กลับไม่ใช่ใกล้
                                               เขาเหล่านี้มาเยือนเราทำไม                                 หากไม่ใช่ทะเลไทยที่สมบูรณ์

                                              นักท่องเที่ยวมาดำพุดมุดดำว่าย                         สุขสบายกายใจ high season
                                               มองเห็นแต่หัวทองแดงเป็นหมื่นพัน                     หัวดำๆ เพื่อนฉันหนึ่งเปอร์เซน

                                              ฤดูกาลเช่นนี้สิมั่นเหมาะ                                       เงินเหนาะๆ ดำน้ำไทยไม่ใช่เล่น
                                              แต่ Professional ไทยช่างเลือกเฟ้น                  มองไม่เห็นโอกาสน่าเสียดาย

                                              ธุรกิจดำน้ำประเทศไทย                                        เก็บกำไรทุกปีถึงเป้าหมาย
                                               รายรับกลับที่ได้ช่างมากมาย                               แต่สุดท้ายเป็นเงินเขาอยู่ร่ำไป

                                              เหตุเป็นเพราะไทยดำน้ำยังไม่ได้                         มันเลยกลายพันธุ์เป็นของชาติไหน
                                               แหล่งดำน้ำหลังบ้านของเมืองไทย                      กลับไม่ใช่เพื่อนไท (ส่วนใหญ่) ที่ได้มา

                                             เพลานี้เราต้องเปิดตาให้มาก                                 มองโอกาส AEC เข้าไปด้วย
                                              เห็นไหมแหล่งดำน้ำสุดแสนสวย                           เมืองเรารวยทรัพยากรทะเลไทย
                                                                                
                                                                                                                               โอกาสเป็นของคนที่มองไกล

                                               อยากบอกคำหากอยากได้แค่ฝึกเอย

                                                                                                      สวัสดี....ปีใหม่